เปิดสูตรฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย (ตอน2)
ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด โควิด-๑๙
โดย ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการอิสระ นักเศรษฐมิติชื่อดังระดับโลก อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยหลายสิบปีก่อน และอาจารย์บรรยายในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับความน่าเชื่อถือและการยอมรับในแวดวงเศรษฐศาสตร์ว่า มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐมิติที่หาตัวจับยาก และมีผลงานระดับโลก
(ต่อจากตอน1)
๓.ผลกระทบ จาก โควิด-๑๙ ต่อเศรษฐกิจไทย
ในอดีต ต้มยำกุ้ง เป็นวิกฤตทางการเงิน การโจมตีอัตราแลกเปลี่ยน สถาบันการเงินธนาคารมีปัญหา มีการโจมตีค่าเงิน ผู้รับผลกระทบคือผู้ถือหุ้น การเพิ่มทุนของระบบสถาบันการเงิน การล้มละลายของภาคเศรษฐกิจจริงที่ยืมเงินตราต่างประเทศ บริษัทขนาดกลาง-ย่อม กระทบไม่มากจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมาก แต่ถูกกระทบจากกำลังซื้อหด ทำให้แรงงานที่ตกงาน คนรายได้น้อย สามารถกลับไปสู่ภาคเกษตร แต่หลังจากรัฐบาลกู้ เงิน ๑๗.๔ ล้านเหรียญ ส.ร.อ. ทำให้เกิดเสถียรภาพ และหลังจากที่ราคาสินค้าเกษตรในรูปเงินบาทลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทลด กว่า ร้อยละ ๕๐ เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัว ด้วยการขับเคลื่อนของการส่งออกที่มีความสามารถในการแข่งขัน
ส่วนโควิด๑๙ ระบบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของบริษัทขนาดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายจากภาคการเงิน และยังมีความมั่นคง ต่างจากการธรกิจการผลิตขนาดย่อม-กลาง ที่ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก การผลิตบริการในภาคที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ภัตตาคาร เครื่องดื่ม ฯลฯ ประสพปัญหาจากการลดลงของความต้องการสินค้าและบริการรวม เนื่องจากการปิดเมือง และการปิดน่านฟ้า การห้ามออกนอกบ้านระหว่าง ๒๒ ถึง ๔ นาฬิกา การห้ามเดินทางข้ามจังหวัด เริ่มจากปลายเดือนมีนาคม ถึงปัจจุบัน (พฤษภาคม ๒๕๖๓) เป็นมาตรการที่ส่งผลต่อการหดตัวด้านอุปทาน
เพราะการปิดกิจการทางเศรษฐกิจสิ้นเชิงทำให้ธุรกิจประสบปัญหาการผลิตและปัญหาแรงงานทุกระดับ ในภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ และที่ไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะธรกิจประเภท หาบเร่ แผงลอย คนงานรายวัน แรงงานหาเช้ากินค่ำที่ตกงาน ต้องขาดรายได้ และไร้บ้าน ขาดอาหารบริโภคสม่ำเสมอ จนผู้ไร้บ้านต้องหันเข้าหาที่อยู่หลับนอนอย่างทุลักทุเลในที่สาธารณะ เช่นสวนลุมฯ ในขณะที่การไหลกลับไปต่างจังหวัดจากมาตรการเข้มงวดของ พ.ร.ก. ยังสามารถตรึงประชาชนไว้ในชนบทและต่างจังหวัด และต้องขอบคุณความสามารถของ อาสาสมัครสาธารณสุขที่ทำให้ โควิด๑๙ ไม่ระบาดรุนแรงในต่างจังหวัด เป็นส่วนใหญ่
ความแตกต่างของโควิด๑๙ กับต้มยำกุ้ง สรุปได้ดังนี้
๑) คนรากหญ้า มีปัญหา ทั้งในภาคเมืองและชนบท (และจากปัญหาความแห้งแล้ง) การขาดรายได้ เนื่องจากตกงาน ทำให้ ช่องว่างระหว่างรายได้ยิ่งมีความแตกต่างมากขึ้น ต่างจากกรณีวิกฤตต้มยำกุ้งที่คนชั้นกลางมีปัญหาสภาพคล่อง นายทุนขนาดใหญ่มีปัญหาด้านหนี้สิน จากการปริวรรษเงินตรา ไม่สามารถจ่ายหนี้เงินกู้คืน ให้สถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศได้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่มีงบดุลที่เสียหายไม่ต่างจากภาคเศรษฐกิจทั่วไป
๒) เศรษฐกิจไทยในปี ๒๐๒๐ ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด๑๙ คาดว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ เศรษฐกิจมหภาค (วัดโดยอัตราการหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ภายในประเทศ) ที่หดตัวลดลง ร้อยละ -๓.๐๓ เป็นอย่างน้อย (หากโรคระบาดแพร่ในระดับปัจจุบัน) และ ลดลงร้อยละ -๖.๐๑ หากโลกมีการแพร่ระบาดลุกลามขนาดหนักในระดับโลก (Amplified Global Pandemic) เทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งโลก ที่ร้อยละ -๒.๐๙ ถึง -๓.๘๖ ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทย มีสัดส่วนภาคเศรษฐกิจที่เปิดต่อการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างสูงจึงได้รับผลกระทบค้อนข้างมากกว่าประเทศอื่นๆ
๓) สาขาเศรษฐกิจในปี ๒๐๒๐ ที่ได้รับผลกระทบสะสมหลังจากเกิดการสถานการณ์โควิด๑๙ ประกอบด้วย สาขาบริการภายในประเทศที่อ่อนไหวต่อโรคระบาด (-๑๑.๕๓%) สาขาบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการด้านการท่องเที่ยว และการให้บริการทางการขนส่งทางอากาศ (-๑๔.๖๔%) เทียบกับ ภาคเกษตร และ ภาคหัตถะอุตสาหกรรม ที่ หดตัวลดลงร้อยละ -๓.๐๖ และ ร้อยละ -๔.๔๓ ตามลำดับ
ภาคบริการด้านโรงแรม-ห้องเช่า-ห้องพักสำหรับชาวต่างชาติ ในกทม.และในเมืองใหญ่ที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว ได้รับการกระทบจากโควิด๑๙ อย่างหนักและต้องปิดบริการ และหยุดการจ้างแรงงาน
การศึกษาทั่วไปคาดว่า การกลับมาของนักท่องเที่ยวและการชาวต่างชาติ ที่มาทำธุรกิจในประเทศไทยยังมีความไม่แน่นอน ธุรกิจเหล่านี้ขาดสภาพคล่องและต้องการการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างเร่งด่วน หากธนาคารเจ้าหนี้ไม่อนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้และผ่อนคลายระบบกระแสเงินสด เงินกู้ของธุรกิจเหล่านี้น่าจะกลายเป็นหนี้เสียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สาขาที่ถูกกระทบสำคัญอีกหนึ่งสาขาที่รัฐฯควรให้ความช่วยเหลือคือ ธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้านและที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางในเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ที่มีปริมาณห้องเหลือขายจำนวนมากเนื่องจากความต้องการที่มีอยู่อาศัยที่กำลังขายและขอสินเชื่อเงินกู้หลังขายให้กับผู้กู้ น่าจะไม่ผ่านการอนุมัติทางการเงินจากสถาบันการเงิน จากการที่ผู้บริโภคตกงานขาดรายได้ และการที่นักลงทุนชาวจีนถอนการลงทุน และไม่แน่ใจว่าจะกลับมาปิดบัญชีการซื้อ-ขายอีกครั้งเมื่อใด หากธนาคารเจ้าหนี้ไม่อนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้และผ่อนคลายระบบกระแสเงินสด เงินกู้โครงการบ้านที่อยู่อาศัย อาจกลายเป็นหนี้เสีย จนยากแก่การแก้ไขต่อไป หากรัฐฯไม่มีมาตรการแก้ไขให้ทันเวลาในช่วงนี้ ทั้งนี้ บริษัทอสังหาฯ ขนาดเล็ก ต่างจากบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการออกพันธบัตรบริษัท ที่แม้จะใกล้ถึงกำหนดชำระในปีนี้ แต่หุ้นกู้เหล่านี้น่าจะได้รับการดูแลจากรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยจากแผนการกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาโควิด๑๙
ตารางที่๑ อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจ วัดโดย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ กระทบจาก โควิด๑๙ ในระดับโลกปกติ (global pandemic) เทียบกับการระบาดรุนแรง (amplified global pandemic) เทียบกับแนวโน้มในอดีต
ที่มา: Maryla Maliszewska and Aaditya Mattoo, Dominique van der Mensbrugghe (2020) The Potential Impact of COVID-19 on GDP and Trade : A Preliminary Assessment, Policy Research Working Paper 9211, East Asia and the Pacific Region Office of the Chief Economist & Macroeconomics, Trade and Investment Global Practice, World Bank
ตารางที่ ๒ อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจรายสาขา วัดโดย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ กระทบจาก โควิท๑๙ ในระดับการระบาดรุนแรง เทียบกับแนวโน้มในอดีต
ที่มา:เช่นเดียวกับตารางที่ ๑
ภาพที่ ๕ การหดตัวของผลผลิตรายสาขาของประเทศไทย ที่กระทบจากการระบาดอย่างรุนแรงระดับโลกที่รุนแรง
ที่มา:เช่นเดียวกับตารางที่ ๑
สรุปสภาวะเศรษฐกิจไทย จะหดตัวต่อไปจนถึงอย่างน้อย
ไตรมาสที่สาม-สี่ ปี ๒๕๖๔
และยังมีความไม่แน่นอนว่า สภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวเมื่อไหร? เนื่องจากยังไม่มีทิศทางและกำหนดเวลาที่ชัดเจน ในการนำใช้วัคซีน มาระงับการแพร่ระบาดของโควิท๑๙ เมื่อไหร???
(ติดตามตอนจบ กาารฟื้นเศรษฐกิจไทย หลังโควิด-๑๙)
Dow เปิดตัวนวัตกรรมซิลิโคนนำความร้อน Gap Filler เพื่อแบตเตอรี่รถ EV
" อดิเรก ศรีประทักษ์" 54 ปี กับครอบครัว ซีพี
อาจหาญ ทรนง! ทูตเมียนมาประจำUN ชู3นิ้วกลางที่ประชุม193ชาติ
15 อันดับบ้านแพงที่สุดในไทย แพงสุด 260 ล้านบาท!
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ขยับตำแหน่งมุ่งสร้างธุรกิจใหม่ เปิดทางลูกหม้อขึ้นบริหารงานแทน